โครงการชุมนุม Social Media



โครงการชุมนุม ก้าวใหม่ของเด็กไทย ก้าวไกลด้วย Social Media”

              โลกยุค 2.0 ที่เปลี่ยนถ่ายจาก Static    Content  เข้าสู่ยุค Dynamic   Content โดยใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่นับวันจะมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการนำ Social   Media  มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดเป็นรูปธรรมนั้น นับเป็นกลยุทธ์สาคัญในการสร้าง Community แห่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
             ยิ่งปัจจุบันนี้พบว่านักเรียนสามารถศึกษา ค้นคว้าและนำเสนอรายงานต่าง ๆผ่านบล็อกและเครืองมือออนไลน์ต่างๆด้วยตนเอง นักเรียนสามารถนำพาตนเองเข้าสู่สื่อสังคมออนไลน์ เกิดกิจกรรมและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ระหว่างนักเรียนกับครูผู้สอน โดยใช้ Social Media เป็นช่องทางสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับนักเรียน
เมื่อได้เล็งเห็นความจำเป็นในเรื่องการใช้เทคโนโลยีระบบเครือข่ายเพื่อจัดการเรียนรู้ จึงได้
ดำเนินการจัดตั้งชุมนุม“Social  Media” โดยมุ่งหวังเพื่อพัฒนาสมาชิกชุมนุม ให้ใช้เทคโนโลยี Social Media ในการเรียนรู้แบบ Anyone Anytime Anywhere ให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เป็นสมาชิกของชุมนุมให้สูงขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้นำเครื่องมือออนไลน์ที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตมาปรับใช้ในการ
เรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. เพื่อให้นักเรียนมีสื่อออนไลน์เป็นของตนเองและใช้เป็นช่องทางสื่อสารเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน
การทำรายงานส่งครูผู้สอนในแต่ละรายวิชาได้
3. เพื่อให้เกิด Community และเกิดปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และนักเรียนกับครู
4. สนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมนุมสามารถเป็นวิทยากรขยายผลต่อเพื่อนนักเรียน ต่อครูคนอื่น ๆ ต่อไป

เป้าหมายของโครงการ
1.  นักเรียนมีความรู้ ความสามารถในการใช้เครื่องมือออนไลน์และนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้
2. นักเรียนจำนวน 50  คน มีสื่อออนไลน์เป็นของตนเอง และเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ใหม่
ซึ่งสามารถใช้เป็นช่องทางสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
3. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความสามารถเป็นต้นแบบ/วิทยากรในการขยายผลต่อบุคคลอื่น
ต่อไปได้


กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนที่อยู่ในชุมนุม จำนวน 50 คน
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1.  นักเรียนโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ที่สมัครเข้าชุมนุม
2.  สามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
3. มีความรู้ ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ในการใช้โปรแกรม MS Office, ใช้งานอินเทอร์เน็ต
4. มีที่อยู่อีเมล์เป็นของตนเอง (เช่น hotmail, gmail)
5. มีบล็อกเป็นของตนเอง (เช่น facebook, twitter)
6. มีทัศนคติที่ดีและมีความตั้งใจต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี และนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ในการเรียนรู้ให้กับตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
ระยะเวลา
ตลอดปีการศึกษา 2556
2011
สถานที่
              ห้องคอมพิวเตอร์
265   โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
 ผู้รับผิดชอบ
              
1. นายการุณย์  สุวรรณรักษา
              
2. นางธัญญวดี  เสพมงคลเลิศ
เนื้อหาหลักในการประชุม
1.    การนา Social Media ไปปรับใช้กับการศึกษา
2.   การใช้ Microblog ด้วย Twitter  เพื่อปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้
3.    การสร้าง  Blog ด้วยโปรแกรม Blogger สำหรับครูผู้สอน
4.  กลยุทธ์การใช้  Facebook  กับการศึกษา
5.   การทำ Media Sharing ด้วย Picasa, SlideShare
6.  การสร้างวีดิโอออนไลน์ด้วย YouTube
7.  การเชื่อมต่อ Social Media กับอุปกรณ์มือถือ/Tablet/ipad
และเนื้อหาที่น่าสนใจอื่นๆ อีกมาก


รูปแบบ/วิธีในการประชุม
1.     เสวนาเพื่อให้แนวคิดในการนา Social Media ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ พร้อมตัวอย่าง
2.   ปฏิบัติจริงในเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ที่มีในโครงการ
3.   ให้ศึกษาทีละเครื่องมือ และหลังจากจบ 1 เครื่องมือแล้ว นักเรียนจะได้สื่อ 1 ชิ้น เมื่อเรียนครบทุกชิ้นจะปรากฏรวมอยู่ที่หน้าบล็อกของแต่ละคน เป็นเนื้อหาเดียว
4.  เข้ากลุ่มเพื่อนำเสนอผลงาน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น